5 สิ่งที่ต้องรู้ สำหรับผู้ใช้รถ EV

หลายๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า EV-Electric Vehicle หรือยานยนต์ไฟฟ้า ว่าเป็น Trend ที่มาแรงในยุคนี้ โดยคนทั่วโลกเริ่มหันมาใช้รถ EV กันมาก โดยเฉพาะในแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น จนมียอดขายทะลุถึง 4 ล้านคันไปแล้ว

ในไทยเองก็มีหลายค่ายรถยนต์ที่ทยอยเปิดตัวรถ EV ตามกระแสโลก แต่ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทย ซึ่งอาจจะยังไม่รู้ว่า การจะเปลี่ยนจากรถยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงที่เคยใช้กัน มาขับรถ EV นั้น มี 5 สิ่งสำคัญที่ต้องรู้เมื่อใช้รถ EV

1. รถ EV ชาร์จครั้งหนึ่ง วิ่งได้กี่กิโลเมตร ?

ยานยนต์ไฟฟ้า จริงๆ แล้วมีทั้งหมดถึง 4 ประเภท แต่ว่ายอดขาย 4 ล้านคันที่นับกันว่าเป็น “รถ EV” เฉพาะรุ่นที่เสียบปลั๊กชาร์จไฟฟ้าเข้าแบทเตอรีได้ ซึ่งก็คือ ประเภท Plug-in Hybrid (PHEV) และ Battery Electric Vehicle (BEV) เท่านั้น

– PHEV ใช้พลังงานผสมระหว่างน้ำมันเชื้อเพลิง และไฟฟ้าจากแบทเตอรีที่เสียบปลั๊กชาร์จไฟได้ โดยระยะทางที่วิ่งได้จากไฟฟ้า ขึ้นอยู่กับความจุของแบทเตอรี ส่วนใหญ่มีความจุแบทเตอรีอยู่ที่ 6-14 kW วิ่งได้ 25-50 กม./การชาร์จ 1 ครั้ง

– BEV ขับเคลื่อนโดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบทเตอรี 100 % จึงไม่มีการปล่อยมลพิษทางอากาศ แต่จำเป็นต้องเสียบปลั๊กชาร์จไฟเข้าแบทเตอรีเท่านั้น เช่น รถ Tesla Model 3 มีความจุแบทเตอรีอยู่ที่ 60-90 kW วิ่งได้ 338-473 กม./การชาร์จ 1 ครั้ง

2. รถ EV ต้องชาร์จบ่อยไหม และค่าชาร์จไฟแพงไหม ?

รถ EV ควรชาร์จไฟจนเต็มประจุ 1 ครั้งทุกสัปดาห์ เพื่อเป็นการกระตุ้นเซลล์เก็บประจุให้ทำงานครบ ช่วยลดการเสื่อมของแบทเตอรี ในการใช้งานระยะยาว

ในส่วนของค่าไฟในการชาร์จก็ถูกแสนถูกเมื่อเทียบกับการเติมน้ำมัน คือ ค่าชาร์จไฟรถ EV ประมาณ 0.7-1 บาท/กิโลเมตร เมื่อเทียบค่าเติมน้ำมันรถทั่วไปประมาณ 3 บาท/กิโลเมตร ทำให้สามารถประหยัดค่าเชื้อเพลิงรถไปได้มากกว่า 3 เท่าสำหรับการชาร์จไฟเองที่บ้าน แต่ถ้าไปชาร์จที่ Charging Station ในห้างหรือตามปั๊ม ก็อาจมีการบวกค่าบริการเพิ่มเติมแล้วแต่สถานที่

3. รถ EV ชาร์จที่บ้านปลอดภัยไหม ?

สายชาร์จที่แถมกับรถ เป็นแค่ Emergency Charge ! (สาย Mode 2) เหมาะสำหรับการชาร์จ “เพียงชั่วคราวสั้นๆ ในยามฉุกเฉิน*” ที่แบทเตอรีรถ EV หมดนอกบ้าน แล้วต้องการเสียบชาร์จให้มีไฟฟ้าพอขับกลับบ้าน หรือสถานีชาร์จเท่านั้น ไม่ได้ออกแบบสำหรับเสียบชาร์จกับปลั๊กไฟบ้านทิ้งไว้ทั้งคืนเป็นประจำ เนื่องจากอาจเกิดความร้อนสะสมที่เต้าเสียบไฟบ้าน ซึ่งอาจทำให้ระบบไฟบ้านเกิดปัญหาได้ ดังภาพ เมื่อชาร์จเต็มแล้วควรถอดปลั๊กทันที

สาเหตุมาจากสายไฟบ้านทั่วไปในไทยทนกระแสไฟได้ 10 A หรือน้อยกว่าแล้วแต่สภาพใช้งาน แต่สายชาร์จแถม (Mode 2) สามารถดึงกระแสไฟสูงสุดถึง 12A ซึ่งเกินจากสายไฟบ้านรับได้ ! หากต้องการใช้อย่างปลอดภัย ต้องเดินสายไฟใหม่ขนาด 4  Sq.mm. ขึ้นไป สำหรับเฉพาะเต้าเสียบนี้เท่านั้น โดยไม่พ่วงกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ และต้องมีระบบสายดินด้วย

การไฟฟ้านครหลวง แนะนำว่าการชาร์จที่บ้านควรใช้เครื่อง Wallbox EV Charger (เครื่อง Mode 3) เพื่อความปลอดภัย ซึ่งรับกระแสไฟได้ 16-32 A สามารถชาร์จได้เต็มประสิทธิภาพของรถยนต์แต่ละรุ่น และมีระบบตัดไฟเมื่อชาร์จเต็ม หรือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น กระแสไฟเกิน ความร้อนเกิน (มี Over-Current and Thermal Protection)

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *