อยากใช้รถไฟฟ้าต้องรู้ !! ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านเสียค่าไฟเท่าไหร่ ?

รถยนต์ไฟฟ้า คือ รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า โดยใช้พลังงานไฟฟ้าที่เก็บอยู่ในแบตเตอรี่หรืออุปกรณ์เก็บพลังงานไฟฟ้าแบบอื่นๆ โดยการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีทั้งหมด 3 แบบดังนี้ การชาร์จแบบธรรมดา การชาร์จแบบรวดเร็ว และการชาร์จแบบด่วน

รถยนต์ไฟฟ้าชาร์จไฟบ้าน โดยทั่วไปแล้วระยะเวลาในการชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็ม 100% มักใช้เวลาอยู่ที่ประมาณ 30 นาทีหรืออาจใช้เวลาประมาณครึ่งวัน โดยระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่ และกำลังไฟฟ้าของเครื่องชาร์จหรือจุดจ่ายไฟ

ติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ควรเลือกมิเตอร์ไฟฟ้าที่มีแอมป์ที่เหมาะสมให้รองรับกับรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ โดยปกติแล้วมิเตอร์ไฟฟ้ามีอยู่หลายประเภท รถยนต์ไฟฟ้าจะกินกระแสไฟฟ้าขณะชาร์จ 8A ถึง 16A ต่อเนื่องกันจนกว่าแบตเตอรี่จะเต็ม ดังนั้นขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 30A อัตราปกติปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน การคำนวณราคาค่าชาร์จรถไฟฟ้าต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ของรถยนต์ไฟฟ้า ภายใต้เงื่อนไขการบริหารจัดการแบบ Low Priority มีการกำหนดค่าชาร์จไฟฟ้า 2.63 บาท/หน่วย ค่าบริการ 312 บาท/เดือน โดยค่าไฟในการชาร์จรถไฟฟ้าแต่ละคันนั้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับรุ่น และขนาดของแบตเตอรี่ โดยอัตราการคำนวณค่าไฟในการชาร์จรถไฟเต็ม 1 ครั้ง สำหรับไฟบ้าน ทำได้ดังนี้

ยกตัวอย่าง : รถยนต์ไฟฟ้าชาร์จสูงสุดที่ 7.4 kW แบตเตอรี่จุได้ 60 kW หรือระยะทางขับขี่ประมาณ 350 กิโลเมตร พูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือเวลา 1 ชม. เก็บพลังงานไฟฟ้าได้ 7.4 kW โดยถ้าต้องจุให้เต็ม 60 kW ต้องใช้เวลาถึง 7-8 ชั่วโมง

สมมุติว่า รถคันนั้นมีความจุแบตเตอร์รี่อยู่ที่ 90 kWh

ค่าไฟฟ้าปัจจุบัน คำนวณจากการชาร์จไฟฟ้าที่บ้าน โดยใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง มิเตอร์ 15 แอมป์ ค่าไฟฟ้าหน่วยละ 4.2 บาท (โดยประมาณ)

1 หน่วย = 1 kWh เพราะฉะนั้น ค่าไฟฟ้า 1 kWh = 4.2 บาท รถยนต์ไฟฟ้ารุ่น xxx ความจุแบตเตอร์รี่ 90 kWh (ก็คือค่าไฟ 90 หน่วย)

ถ้าชาร์จจาก 0-100%  90*4.2 = 378

สรุป ค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 378 บาท ถ้า ชาร์จแบต 10% 

10% = 9 kWh

9kWh = 37.8 บาท

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *