พลังงานทางเลือก คืออะไร ?
ด้วยสภาวะและปัญหาต่างๆที่เกิดภายในโลก ซึ่งผลต่อระบบนิเวศหรือระบบทรัพยากรต่างๆในปัจจุบัน เช่น ภาวะโลกร้อน ภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เนื่องจากการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติที่มากเกินความจำเป็น ดังนั้น จึงเกิดเป็นแนวคิดในเรื่องของการใช้พลังงานทางเลือก เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อธรรมชาติน้อยที่สุด และทดแทนธรรมชาติให้ได้มากที่สุด โดยส่วนใหญ่จัดเป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งพลังงานทางเลือกนั้น แบ่งได้เป็น 7 ประเภทหลัก ได้แก่
- พลังงานลมพลังงาน ชนิดนี้ได้รับความสนใจและนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์อย่าง กว้างขวาง เช่น กังหันลม
- พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานหมุนเวียนที่สามารถนำาใช้ได้อย่างไม่สิ้นสุด เช่น พลังงานโซล่าเซลล์
- พลังงานน้ำ ปัจจุบันมีการนำพลังงานนน้ำไปหมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้า
- พลังงานไฟฟ้าจากขยะ เป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสูง ขยะเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นมวลชีวภาพ เช่น กระดาษ เศษอาหาร และไม้ ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าได้
- พลังงานชีวมวล เชื้อเพลิงที่มาจากชีวะ หรือสิ่งมีชีวิตเช่น ไม้ฟืน แกลบ กากอ้อย เศษไม้เศษหญ้า หรือแม้กระทั่ง มูลสัตว์ต่างๆ สามารถนำไปเผาให้ความร้อน และนำความร้อนนี้ไปปั่นเป็นไฟฟ้าได้
- พลังความร้อนใต้พิภพ เป็นพลังงานตามธรรมชาติที่เกิดและเก็บสะสมตัวอยู่ภายใต้ผิวโลก เช่น บ่อน้ำร้อน
- พลังงานอุณหภูมิ และความร้อนจากแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานทดแทนใหม่ในภาวะโลกร้อน ซึ่งเกิดจากความร้อนของแสงอาทิตย์และภาวะเรือนกระจก ที่สะสมความร้อนเอาไว้บริเวณพื้นผิวโลก
ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยก็เริ่มหันมาให้ความสำคัญในการเลือกใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น